พระราชกรณียกิจสังเขป
สมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งเสด็จไปสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2505
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของบุคคลผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบทห่างไกล ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทั่วทุกหนแห่งในแผ่นดินไทยนี้
โครงการที่มีสาขาขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศโครงการหนึ่งก็คือ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ซึ่งในภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเมื่อ พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อันเป็นการส่งเสริมอาชีพและขณะเดียวกันยังอนุรักษ์และส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้านที่มีความงดงามหลายสาขา เช่น การปั้น การทอ การจักสาน เป็นต้น
นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ยังทรงเอาพระทัยใส่ในกิจการด้านสาธารณสุข โดยได้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย และหากเสด็จฯเยือนต่างประเทศ ก็มักจะทรงถือโอกาสเสด็จฯทอดพระเนตรกิจการกาชาดของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทยอยู่เสมอ
ในกิจทางด้านการทหารนั้น ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทรงให้ความสนพระทัยต่อการดำเนินงานของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ตลอด มา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวายรายงานถึงผลการปฏิบัติงานพร้อมกับรับพระราชเสาวนีย์ตลอดจนคำแนะ นำไปดำเนินการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]
นอกจากปวงชนชาวไทยแล้ว บรรดาเพื่อนบ้านที่ต้องลี้ภัยอพยพมายังแผ่นดินไทย ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับกาชาดสากลใน การช่วยเหลือผู้อพยพ และพระราชทานครูเข้าไปสอนวิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ กิจการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจนองค์กรระหว่างประเทศ ต่างพากันยกย่องและทูลเกล้าถวายรางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็น จำนวนมาก ดังเช่น
* องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญซีเรส เทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้นและทรงเป็นผู้ "ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง" (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522)
* มหาวิทยาลัยทัฟส์ จากมลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรมในฐานะที่ทรงยกระดับฐานะการครองชีพของประชาชน และช่วยบรรเทาทุกข์ของเด็ก (พ.ศ. 2523)
* สหพันธ์พิทักษ์เด็ก แห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524)
* สถาบันเอเชียโซไซตี้ แห่งกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลด้านมนุษยธรรม (14 มีนาคม พ.ศ. 2528)
* มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าของโลก สดุดีเทิดพระเกียรติ ในฐานะบุคคลดีเด่นด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529)
* ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้ แต่เฉพาะ ผู้ที่เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นเป็นที่รู้จักระดับโลกเท่านั้น (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2531)
* ศูนย์ศึกษาการอพยพ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐนิวยอร์ก กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ไปทรงรับรางวัลความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยประจำปี ณ วอชิงตัน ดี.ซี. (29 มีนาคม พ.ศ. 2533)
* กลุ่มผู้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์เด็กในสหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534)
* องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองโบโรพุทโธ ในฐานะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอนุรักษ์และพัฒนางานศิลปหัตถกรรม ณ ศาลาธรรม จังหวัดเชียงใหม่ (30 มกราคม พ.ศ. 2535)
* กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติคุณพิเศษในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 5 รอบ ในฐานะทรงอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นผลให้แม่และเด็กนับล้าน ได้รับบริการขั้นพื้นฐาน (2 สิงหาคม พ.ศ. 2535)
* กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแห่งความเป็นเลิศในฐานะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพัฒนาสตรีไทย (2 สิงหาคม พ.ศ. 2535)
ในช่วง พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เมื่อเกิดความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียสมาชิกในครอบครัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังเอาพระราชหฤทัยใส่ พระราชทานความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ทั้งนี้ยังปรากฏอยู่เสมอ ๆ ว่าได้ทรงรับคนไข้ผู้ยากไร้ หรือผู้ทำคุณความดี ไว้เป็นคนไข้ในพระราชานุเคราะห์ เป็นที่ปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวไทยและแม้ชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง
พระราชนิพนธ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บันทึก เรื่อง "ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ" เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นพระราชนิพนธ์ที่คนไทยควรจะได้อ่าน และตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในด้านอักษรของพระองค์ท่านอีกอย่างหนึ่งด้วย
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ปวงชนชาวไทยทั้งภาครัฐบาลและเอกชนจึงได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันแม่แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา เพื่อเป็นที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์ท่าน และเป็นการสำนึกถึงคุณของแม่ไปพร้อมด้วย ด้วยนับถือกันทั่วไปว่า พระองค์เปรียบประดุจแม่ของปวงชนชาวไทยทั้งปวง เคียงข้างพ่อของชาวไทย นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสมอมา
เพลงพระราชนิพนธ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้ เพื่อบรรเลงกับ วงดนตรีเดอะแฮนด์ซั่ม และวงดนตรีในพระองค์ ไว้ดังนี้ [7]
* เจ้าจอมขวัญ
* ทาสเธอ
* สายหยุด
* นางแย้ม
สถานที่ พรรณพืช และพันธุ์สัตว์ อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย
สถานที่หลายแห่ง พรรณพืช และพันธุ์สัตว์หลายชนิดได้ตั้งชื่อตามพระนาม หรือสื่อถึงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ
สถานที่
ศาสนสถาน
* พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
* พระพุทธสิริกิติ์ฑีฆายุมงคล ประดิษฐานบนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
การแพทย์ และการสาธารณสุข
* โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์[8] กรมแพทย์ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
* ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[9] มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
* อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์[10] คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
* ตึกสก. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
* อาคารเฉลิมพระกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรารี
สถาบันการศึกษา
* โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ 9 โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านการศึกษา ได้แก่
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
o โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
สวนสาธารณะ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ
* สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์[11] อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
* สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ[12] ทางตะวันตกของสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร
* สวนรมณีนาถ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2535
* สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร รัฐบาลสมัย ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2535
* อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2535
* ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี[13] อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อื่น ๆ
* เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนแม่น้ำน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
* ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[14] ศูนย์การประชุมในกรุงเทพมหานคร
* หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ[15] กรุงเทพมหานคร
* อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ(ภูมิปัญญาท้องถิ่นพนมสารคาม) โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอุดลวิทยา" อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรณพืช
* กุหลาบควีนสิริกิติ์ (Rosa Queen Sirikit )
* ดอนญ่าควีนสิริกิติ์ (Mussaenda philippica A.Rich. cv. Queen Sirikit)
* คัทลียาควีนสิริกิติ์ (Cattleya Queen Sirikit )
* มหาพรหมราชินี (Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R. M. K.Saunders[16] [17])
* โมกราชินี (Wrightia sirikitiae D.J.Middleton & Santisuk[18])
พันธุ์สัตว์
* ปูราชินี (Thaiphusa sirikit Naiyanetr, 1992)